ส่วนกลางคืออะไร แล้วไม่จ่ายได้ไหม?

Living Tips
April 6, 2022

เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันมั้ยคะ ว่า “ค่าส่วนกลาง” คืออะไร แล้วทำไมต้องจ่าย แล้วไม่จ่ายได้ไหม

ส่วนกลาง คือ เงินที่ทางนิติบุคคลจะเรียกเก็บจากลูกบ้านทุกหลังในทุก ๆ ปี เพื่อนำเงินเหล่านั้นไปบำรุงส่วนกลางต่าง ๆ ที่ลูกบ้านใช้ร่วมกัน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าแสงสว่างส่วนกลาง, ค่าบริหารจัดการหมู่บ้าน, ค่าพนักงานหมู่บ้าน, ค่าจัดเก็บขยะ, ค่าพนักงานรักษาความปลอดภัย, ค่าพนักงานรักษาความสะอาด ส่วนคอนโด ได้แก่ สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, ที่จอดรถ, ค่าถังดับเพลิงที่ต้องเปลี่ยนตามกำหนดเวลา ฯลฯ สิ่งที่เราจ่ายไปจะไม่ศูนย์เปล่า เพราะเราจะได้อาคารสภาพดี ทนทาน สิ่งแวดล้อมดีน่าอยู่ พื้นที่ส่วนกลางสวยงามสะอาดตา ดึงดูดผู้คน และสุดท้ายมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี น่าเชื่อถือและวางใจได้

◆ เทคนิคการคิดค่าส่วนกลางของบ้าน ◆

หลักการคิดง่าย ๆ คือ นำค่าใช้จ่ายทั้งหมด หารด้วยจำนวนพื้นที่ในโครงการ เช่น หากค่าส่วนกลางรวมทั้งหมดต่อเดือน 300,000 บาท ในโครงการมีบ้าน 100 หลัง หลังละ 100 ตารางวา จะเท่ากับ 300,000 / (100 x 100) = 30 บาท ต่อพื้นที่ 1 ตารางวา ดังนั้น ถ้ามีบ้าน 100 ตารางวา ก็จะต้องจ่ายค่าส่วนกลางทั้งหมดเดือนละ 3,000 บาท

◆ เทคนิคการคิดค่าส่วนกลางของคอนโด ◆

มาต่อกันที่การคิดค่าส่วนกลางคอนโดกันเลย หากค่าส่วนกลางของโครงการที่เราอยู่อาศัย คิดค่าส่วนกลาง ตารางเมตรละ 40 บาท/เดือน เป็นเจ้าของห้องขนาด 30 ตารางเมตร ค่าส่วนกลางต่อเดือน 30 x 40 = 1,200 บาท แต่ค่าส่วนกลางจะเก็บเป็นรายปี ดังนั้นเราต้องจ่าย 1,200 x 12 = 14,400 บาทต่อปี นั่นเองค่ะ

* กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 50 ว่าผู้ใดค้างชำระค่าส่วนกลางติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการใช้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และกรณีค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน แล้วถ้าเราไม่จ่ายบ้างล่ะ จะเป็นอะไรไหม?

หมู่บ้านจัดสรร

  • จ่ายไม่ทันดีล เสียค่าเบี้ยปรับ 10-15% ของยอดที่ต้องจ่าย พร้อมดอกเบี้ย
  • ไม่จ่าย 3 เดือน ถูกระงับสิทธิ์ เช่น ถอดสิทธิ์ใช้คีย์การ์ด เข้า-ออก, ไม่บริการเก็บขยะ
  • ไม่จ่าย 6 เดือน โอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายใด ๆ ไม่ได้
  • ไม่จ่ายเกิน 6 เดือนขึ้นไป มีสิทธิ์ถูกส่งยื่นฟ้องศาล
หมายเหตุ : อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคณะกรรมการของแต่ละหมู่บ้าน

แล้วถ้าเราไม่จ่ายบ้างล่ะ จะเป็นอะไรไหม?

คอนโด

  • จ่ายไม่ทันดีล ชำระเบี้ยปรับไม่เกิน 12-20% ของยอดที่ต้องจ่าย พร้อมดอกเบี้ย
  • เสียสิทธิการลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่
  • ไม่ได้รับ “ใบปลอดหนี้” โอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายใด ๆ ไม่ได้
  • มีสิทธิ์ถูกส่งยื่นฟ้องศาล
หมายเหตุ : อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับนิติบุคคลของแต่ละโครงการ

ที่นี้เราก็ได้รู้แล้วว่าส่วนกลางคืออะไร แล้วถ้าไม่จ่ายก็จะเกิดปัญหาและบทลงโทษต่าง ๆ ตามมามากมาย ทางที่ดีเราควรจ่ายตามกำหนดดีกว่าเนาะ เพื่อประโยชน์ในการดูแลใช้จ่าย ซ่อมแซมปรับปรุงเงินส่วนกลางให้สามารถใช้งานได้นาน ๆ และทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในที่อยู่อาศัยของเราเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก :  home.sanook.com, thinkofliving.com, นิตยสาร Home Buyers Guide ฉบับเดือน พ.ศ. 55

LIVING TIPS

Living Tips
April 24, 2024

หน้าร้อน กับ 4 โรคร้ายที่ต้องระวัง

แม้ฤดูร้อนปีนี้อาจจะกินเวลานานเลยทีเดียวนั่นเท่ากับว่าผู้คนจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนชนิดที่หลายคนเปรียบเปรยว่าร้อนจนปรอทแทบแตกแต่นอกจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามซึ่งมักจะมาพร้อมๆ กับหน้าร้อนเสมอเหมือนเงาตามตัว นั่นก็คือ ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะ 4 โรค ที่มักพบบ่อยในช่วงหน้าร้อน มีอะไรกันบ้างตามไปดูกันเลย
อ่านต่อ
Living Tips
April 10, 2024

เคล็ดลับออกแบบบ้านกันร้อน อยู่สบายทุกช่วงเวลา

การสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยในระยะยาว นอกจากการคำนึงถึงปัจจัยความต้องการของผู้อยู่อาศัยเป็นอันดับต้นๆ รวมถึงงบประมาณ และแบบที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยแล้ว การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุให้เข้ากับภูมิอากาศของพื้นที่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากคุณกำลังมองหาวิธีทำให้บ้านเย็น บทความนี้ก็มีไอเดียที่จะช่วยลดอุณภูมิภายในบ้านที่มีประสิทธิภาพพร้อมช่วยประหยัดไฟและลดรายจ่ายในระยะยาวได้อีกด้วย
อ่านต่อ
Living Tips
April 10, 2024

วิธีดับร้อนแบบคูลๆ ไม่ซ้ำใคร ได้ผลจริงแน่นอน

เข้าสู่ช่วงหน้าร้อนกันแล้วทุกคน เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะร้อนกันมากเลยทีเดียวล่ะ เพราะแดดของประเทศไทยนั้นไม่เคยปราณีใคร จนบางคนถึงขั้นเป็น Heatstroke กันเลยทีเดียว ดังนั้น ในวันนี้จะมาแชร์ 5 วิธีดับร้อนแบบคูลๆ ไม่ซ้ำใคร มาฝากกัน เพื่อช่วยให้คุณมีวิธีดับร้อน และผ่านฤดูนี้ไปได้อย่างชิวๆ ซึ่งจะมีวิธีไหนกันบ้างนั้น ตามมาดามมาดูกันเลย
อ่านต่อ
www.chanuntorn.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้ดีมากยิ่งขึ้น (เรียนรู้เพิ่มเติม).