1. คำนวณปริมาณการใช้ไฟในบ้าน
สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์คือ การดูว่าบ้านของเรามีปริมาณการใช้ไฟมากน้อยแค่ไหน โดยคำนวณการใช้ไฟย้อนหลัง 3 เดือนพร้อมสังกตพฤติกรรมการใช้ไฟในบ้านเพื่อให้เราตัดสินใจได้ว่าควรติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือไม่ควรเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังการผลิตเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน
2. เช็คสถานที่ก่อนติดตั้ง
ความแข็งแรงของบ้านเป็นเรื่องสำคัญเพราะแผงโซลาร์เซลล์ 1 แผงมีน้ำหนักราวๆ20 กิโลกรัมดังนั้น หลังคา และโครงสร้างของบ้านจะต้องพร้อมรับน้ำหนักแผงโซลาร์เซลล์มากกว่า1 แผง(มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟ) เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี (ค่าเฉลี่ยของอายุการใช้งานของแผงโซลาเซลล์โดยทั่วไป)ก่อนติดแผงโซลาร์เซลล์ คุณอาจต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่หรือซ่อมแซมโครงสร้างบ้านให้แข็งแรงเสียก่อนเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องบวกเข้าไปในต้นทุนแต่ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะการมีบ้านที่แข็งแรงปลอดภัยไปนานๆย่อมเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว นอกจากความแข็งแรงของบ้าน ยังต้องดูองค์ประกอบอื่นด้วยเช่น ทิศที่ตั้ง หรือสภาพแวดล้อมรอบๆ ที่อาจส่งผลต่อปริมาณการรับแสงอาทิตย์ถ้าบ้านอยู่ในมุมอับหรือมีเงาบัง อาจรับแสงได้ไม่คุ้มค่า
3. เลือกมืออาชีพติดตั้งโซลาร์เซลล์
เลือกใช้บริษัทที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญและทันสมัย มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมมีบริการ One Stop Service ที่เพิ่มความสะดวกทั้งการติดตั้งและการทำเอกสารขออนุญาตกับการไฟฟ้า ซึ่งช่วยประหยัดเวลาให้เราได้มากขึ้นรวมถึงต้องมีบริการหลังการขาย เพื่อดูแลอุปกรณ์และประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ให้เราอย่างต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งาน
4. ทำความรู้จักแผงโซล่าเซลล์แต่ละประเภท
แผงโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) วิธีการสังเกตแผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้รูปทรงของเซลล์จะมีสีเข้ม มุมทั้งสี่มุมจะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัดทำมาจากซิลิคอนทรงกระบอกบริสุทธิ์
- ข้อดี มีคุณภาพสูงสามารถผลิตไฟได้ดีแม้ว่าแสงแดดจะน้อย และอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25-40 ปี
- ข้อเสียในกรณีที่มีคราบสกปรกบนแผงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ระบบอินเวอร์เตอร์ไหม้ได้และแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีราคาสูง
แผงโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) วิธีการสังเกตแผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้รูปทรงของเซลล์เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีแผงเข้มออกไปทางสีน้ำเงินทำมาจากผลึกซิลิคอน
- ข้อดี ราคาไม่แพงและแผงโพลีคริสตัลไลน์สามารถใช้งานในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าแผงคริสตัลไลน์เล็กน้อย
- ข้อเสียประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16% และมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียง 20-25 ปี
แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) วิธีการสังเกตุแผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้สีแผงจะเข้ม มีสีดำ ฟิล์มจะมีลักษณะบางกว่าชนิดอื่น
- ข้อดี ราคาถูกที่สุด มีน้ำหนักเบาสามารถโค้งงอได้ดี ทนต่ออากาศร้อนได้ดี
- ข้อเสีย ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุดอายุการใช้งานสั้น และไม่เหมาะนำมาติดตั้งในภาคอุสาหกรรมและบ้านเรือน
5. รับมือกับการจัดการ และดูแลได้
ตอนนี้การไฟฟ้านครหลวงมีโครงการ KEN (Key Energy Now by MEA) ให้บริการครบวงจรในที่เดียวทั้งวางแผน ออกแบบ ติดตั้ง และขออนุญาตขายไฟฟ้า โดยติดต่อผ่านสายด่วน 1130 หรือช่องทางLine @measolar ได้เลยก่อนติดตั้งต้องตรวจสอบเงื่อนไข และความพร้อมต่างๆ ให้รอบคอบ และครบถ้วนส่วนหลังติดตั้งก็ต้องพร้อมดูแลระยะยาวด้วย เช่นคอยดูแลแผงโซลาร์เซลล์ไม่ให้มีสิ่งสกปรก ฝุ่นผง หรือกิ่งไม้ใบไม้มาปกคลุมรวมถึงหมั่นตรวจเช็กสายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อไม่ให้เสียหายยืดอายุการใช้งานให้นานๆ